top of page
ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ทันตกรรมสาขาหนึ่งซึ่งให้คำปรึกษา ดูแลรักษา ป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 12 ปี ได้แก่ การขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์, การผนึกหลุมร่องฟันป้องกันฟันผุ, การอุดฟัน, การรักษาโพรงประสาทฟัน, การครอบฟัน กรณีที่มีฟันผุลุกลามมาก, การถอนฟัน, การ X-ray ตรวจสุขภาพฟัน , การใส่เครื่องมือกันฟันล้มหรือเครื่องมือขยายช่องว่างสำหรับฟันแท้ (Space Maintainer / Space Regainer) กรณีที่มีการถอนฟันน้ำนมไปเร็วกว่ากำหนดเพื่อให้ฟันแท้มีที่ขึ้นได้ตามปกติ , การจัดฟันเพื่อแก้ไขความผิดปกติเล็กน้อย (Minor Tooth Movement) ซึ่งอาจช่วยลดความรุนแรงของความผิดปกติทำให้ขั้นตอนการจัดฟันง่ายขึ้นหรือใช้เวลาในการจัดฟันน้อยลง

Screen Shot 2564-01-13 at 16.01.49.png
S__22438111.jpg
Screen Shot 2564-01-13 at 16.01.49.png

การทำฟันในเด็กมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่ยากจะแก้ไขในอนาคต เป็นการ

ตรวจหาความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ ฝึกวินัยในการดูแลสุขภาพฟัน เพื่อให้เด็กเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพปากและฟันให้สะอาด อีกทั้งยังลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาในอนาคต

pedo_edited.jpg
E6B2ED8F-8170-44FA-B3AD-74D64051A7F2.jpg
A443E493-26D5-44B7-ACB4-0E5BA98CB854.jpg

ถาม-ตอบ

ถาม ควรนำเด็กมาพบทันตแพทย์สำหรับเด็กครั้งแรกเมื่อไหร่?

DSC_0627_edited.jpg

ตอบ ภายใน 6 เดือน หลังจากฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น หรืออายุไม่เกิน 18 เดือน

ถาม อายุที่เหมาะสมที่ควรจะนำเด็กมารับการเคลือบฟลูออไรด์?

ตอบ เมื่อเด็กเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นในช่องปาก

fl.jpg

ถาม เด็กควรได้รับฟลูออไรด์เสริมโดยการรับประทานทุกคนหรือไม่?

DSC_0616.jpg

ตอบ ฟลูออไรด์ช่วยเสริมสร้างให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรงขึ้น แต่ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อรับประทานเองเพราะอาจทำให้ได้รับปริมาณมากเกินไป จนเกิดเป็นฟันตกกระ (Fluorosis) ซึ่งมีตั้งแต่ตกกระเป็นจุดขาวเล็กน้อย จนถึงผิวเคลือบฟันหลุดกร่อนได้ง่ายและมีสีน้ำตาล ดังนั้น ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อให้ได้รับปริมาณฟลูออไรด์ที่พอเหมาะ ซึ่งการให้ฟลูออไรด์เสริมเพื่อป้องกันฟันผุต้องคำนึงถึง

1. ปริมาณฟลูออไรด์ที่เด็กจะได้รับจากอาหาร, นม และน้ำดื่ม

2. อายุและน้ำหนักตัวของเด็ก

ถาม ผู้ใหญ่จำเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์หรือไม่

DSC_0468_1_edited.jpg

ตอบ ทันตแพทย์มักจะทาฟลูออไรด์กับฟันของเด็กจนถึงอายุ 16 ปีเนื่องจากผู้ใหญ่สามารถดูแลฟันและได้รับฟลูออไรด์อย่างเพียงพอหลังจากแปรงฟันทุกวัน จากนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ฟลูออไรด์กับฟันของพวกเขา แต่ทันตแพทย์จะใช้ฟลูออไรต์กับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ในกรณีที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุเนื่องจากฟันไม่สะอาดเคยอุดฟันหน้าหรือมีความเป็นกรดของน้ำลายสูงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการฉายรังสีหลังผ่าตัดมะเร็งช่องปากและลำคอ ซึ่งส่งผลให้ปากแห้งเพราะน้ำลายน้อยและทำให้ฟันผุ

Screen Shot 2564-01-13 at 23.43.52.png

ถาม การผนึกหลุมร่องฟัน (Sealant) ต่างจากการเคลือบฟลูออไรด์ (Fluoride Application) อย่างไร?

ตอบ การผนึกหลุมร่องฟัน เป็นการใช้สารเรซิ่นเคลือบไปตามหลุมและร่องฟันที่ลึก ซึ่งยากต่อการใช้แปรงสีฟันทำความสะอาด โดยมักจะทำที่ฟันกรามทั้งในฟันกรามน้ำนมและฟันกรามแท้ ซึ่งจะทำเป็นซี่ ๆ ไปและสารเรซิ่นที่ใช้จะมีทั้งชนิดใส ไม่มีสี สีขาวขุ่น และสีเหมือนฟันซึ่งสารเรซิ่นจะแข็งปิดหลุมร่องฟันป้องกันฟันผุเฉพาะตามหลุมร่องฟัน ส่วนการเคลือบฟลูออไรด์เป็นการขัดฟันให้สะอาดทั้งปากคล้ายการขูดหินปูนในผู้ใหญ่ หลังจากนั้นทันตแพทย์จะใช้ฟลูออไรด์เจล ใส่ถาดที่พอดีกับฟันในช่องปากใส่ในปาก แล้วให้เด็กอมทิ้งไว้ 1-4 นาที ฟลูออไรด์ที่เข้มข้นสูงจะแทรกซึมเข้าไปในผิวเคลือบฟัน เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ผิวเคลือบฟันทั้งปากได้ระยะหนึ่ง ซึ่งควรทำซ้ำทุก 6 เดือน

ถาม การผนึกหลุมร่องฟันมีโอกาสหลุดหรือไม่?

fissure-sealant.jpg

ตอบ มีโอกาสหลุดได้ตั้งแต่ 1 วัน จนถึง 10 ปี ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ป่วยขณะทำสภาพฟันที่ทำขณะนั้นและประสบการณ์ของทันตแพทย์ แต่โดยมากมักอยู่ได้นานเกิน 2 ปี ถ้าหลุดออกควรทำการผนึกหลุมร่องฟันใหม่ทันที ทันตแพทย์จะแจ้งให้ทราบเมื่อเด็กมาทำการตรวจฟันทุก 6 เดือน

DSC_0626.jpg

ถาม ลูกกลัวการทำฟันมากจะทำอย่างไรดี?

ตอบ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวลมากนัก เด็กเล็กมักร้องไห้บ้างในช่วงแรกๆของการทำฟัน ทันตแพทย์จะค่อยๆ สร้างความคุ้นเคยให้แก่เด็กโดยเริ่มทำทีละน้อยจนเด็กเริ่มรู้สึกคุ้นเคยและกลัวน้อยลง ควรเลือกสถานที่ที่มีบรรยากาศดีในการทำฟัน มีของเล่นจูงใจเด็กเพื่อลดความกลัวของเด็ก และ พบทันตแพทย์ที่มีจิตวิทยาในการปรับพฤติกรรมเด็ก

IMG_8801_edited.jpg

ถาม เด็กมีปัญหาฟันผุมากหลายซี่ จะให้ทันตแพทย์ถอนฟันในครั้งแรกเลยได้หรือไม่

Screen Shot 2564-01-13 at 23.43.52.png

ตอบ ไม่ควรทำฟันครั้งแรกด้วยการถอนฟัน เด็กจะฝังใจกลัวและไม่ยอมทำฟันอีกเลย ทันตแพทย์จะอธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจว่า การปรับพฤติกรรมให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการทำฟันตั้งแต่ครั้ง แรก (First Impression) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ และความร่วมมือในการรักษาในครั้งต่อไป

ติดต่อเรา

อีเมล์: contact@siamdentalclinic.com
  โทร: 081-814-5544, 02-748-3001-3

 ที่อยู่: 11/1 ซ.ศรีนครินทร์ 57 (พรีเมียร์ 1)
        ถ.ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ

        กทม. 10250

เวลาเปิดทำการของคลินิก

จันทร์ - ศุกร์:

10.00 น. - 20.00 น.

เสาร์ - อาทิตย์:

10.00 น. - 18.00 น.

 

bottom of page